วันพฤหัสบดีที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2556

หลักการสอน พลศึกษา


หลักการสอนพลศึกษา
               
 สำหรับการสอนวิชาพลศึกษานั้นมีความมุ่งหมายเฉพาะที่สามารถมองเห็นได้เด่นชัด ดังต่อไปนี้
1.       เพื่อให้มีสมรรถภาพและสุขภาพของร่างกายดีขึ้น รวมทั้งการรักษาไว้ซึ่งสุขภาพ นับว่า
สำคัญและเป็นหัวใจของการสอนพลศึกษาเพราะการศึกษาแขนงอื่นมีส่วนบกพร่องทางด้านนี้ วิชาพลศึกษาเท่านั้นมีบทบาทที่จะเสริมสมรรถภาพ
2.       เพื่อให้มีทักษะในกิจกรรมทางด้านพลศึกษาและสามารถนำทักษะเหล่านี้ไปใช้ให้เกิด
ประโยชน์ได้ในโอกาสต่อไป เนื่องจากวิชาพลศึกษาอาศัยกิจกรรมต่าง ๆ ทางกายเป็นสื่อ ฉะนั้นจึงจำเป็นจะต้องสร้างทักษะเสียก่อนให้เพียงพอ เพื่อจะได้นำทักษะอันเป็นพื้นฐานของกิจกรรมไปใช้
3.       ให้มีความรู้ความเช้าใจในด้านต่าง ๆ เป็นต้นว่า ความรู้ความด้านคุณค่าของวิชา
พลศึกษาประโยชน์ของกิจกรรมประเภทต่าง ๆ
4.       เพื่อให้มีคุณลักษณะต่าง ๆ ประจำตัว คุณลักษณะดังกล่าวนี้ครอบคลุมไปทุก ๆ ด้าน
ซึ่งเชื่อว่ากิจกรรมทางพลศึกษาจะมีส่วนช่วยและส่งเสริมได้
5.       เพื่อให้มีสุขนิสัยที่จะเป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคม โดยทั่วไปแล้วถือว่าวิชา
พลศึกษาเป็นวิชาสุขศึกษาภาคปฏิบัติ เพราะในการเรียนวิชาพลศึกษาต้องอาศัยการปฏิบัติเป็นหลัก ฉะนั้นการสอนวิชาพลศึกษาจึงต้องเน้นในเรื่องสุขนิสัยด้วย

ข้อแนะนำในการสอนวิชาพลศึกษา
1.       ในการศึกษาแผนใหม่ถือว่าวิชาพลศึกษามีส่วนช่วยในการพัฒนานักเรียนใน
ทุก ๆ ด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านสุขภาพและสมรรถภาพของร่างกายได้เป็นอย่างดียิ่ง
2.       การจัดกิจกรรมพลศึกษาที่หนัก เหมาะสมกับสภาพของร่างกายของเด็กแต่ละ
คนเป็นการส่งเสริมการเจริญเติบโตของร่างกายที่ดี เมื่อนักเรียนเริ่มมีการพัฒนาทางด้านความ
แข็งแรงความอดทนและทักษะแล้วก็จะมีโอกาสมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่หนัก ๆ และสูง ๆ ต่อไปอีก
ความหนักและความยากของกิจกรรม ความเพิ่มขึ้นตามลำดับและความเหมาะสม นักเรียนแต่ละคน
ต้องการความหนักเบาของกิจกรรมแตกต่างกัน
3.       สิ่งที่เด็กหวังจะได้รับในระหว่างมีส่วนร่วมอาจจะแตกต่างกัน เช่น คนหนึ่ง
อาจมีส่วนร่วมเพื่อผลทางสุขภาพอีกคนหนึ่งอาจมีส่วนร่วมเพื่อคามสนุกสนาน หรืออีกคนหนึ่งต้องการทั้งสองอย่างดังกล่าวแล้วก็ได้
4.       ผลที่จะได้รับจากการสอนพลศึกษาไม่ใช่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติหรือโดยบังเอิญ
การสอนที่จะให้ได้รับผลดีนั้น การสอนวิชาพลศึกษาก็เช่นเดียวกับวิชาอื่น ๆ คือจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในตัวนักเรียนมีความรักนักเรียน และได้มีการเตรียมบทเรียนตามความเหมาะสมกับนักเรียนไว้ล่วงหน้า
5.       นักเรียนที่อยู่ในชั้นเดียวกันจะมีความแตกต่างกันทั้งในด้านวุฒิภาวะ
(Maturity) ความสามารถและความพร้อมทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ ประโยชน์ที่นักเรียนจะได้จากการสอนวิชาพลศึกษาจะขึ้นอยู่กับปัจจัยที่สำคัญ ๆ ดังกล่าวแล้วนี้ด้วย
6.    นักเรียนทุกคนจะมีการพัฒนาดีที่สุดและมีความสุขในชีวิตมากที่สุด ก็ต่อเมื่อได้มีความพอใจสบายใจในประสบการณ์ ในการมีส่วนร่วมในกิจกรรม
พลศึกษา
7.       ควรจัดกิจกรรมให้นักเรียนชายและหญิงมีโอกาสมีส่วนร่วมในกิจกรรม
เดียวกันด้วยกัน เป็นบางครั้งบางคราวถ้ามีโอกาส
8.       นักเรียนต้องการทราบในความสามารถของตนเองในกิจกรรมต่าง ๆ และ
อยากทราบว่าเท่าที่เรียนมาตัวเองเป็นอย่างไรบ้าง
9.       นักเรียนทุก ๆ คนได้รับประโยชน์จากการพลศึกษาทั้งนั้น แต่กิจกรรมต่าง ๆ
 สำหรับนักเรียนแต่ละคนอาจจะไม่เหมือนกัน นักเรียนส่วนใหญ่อาจจะสามารถมีส่วนร่วมได้ทุก
กิจกรรม แต่บางคนอาจจะต้องการเฉพาะกิจกรรมที่ง่าย ๆ และเบาๆ
10.   ถ้าติดตามสังเกตนักรเยนแต่ละคนเป็นประจำโดยสม่ำเสมอจะทำให้เรา
สามารถทราบข้อบกพร่องและความต้องการช่วยเหลือของนักเรียนได้
11.   นักเรียนแต่ละคนต้องการรู้ เข้าใจและมีทักษะเบื้องต้นง่าย ๆ เช่น การเดิน วิ่ง
 กระโดด รับ-ส่งลูกที่ถูกต้อง
12.   ส่วนประกอบที่สำคัญของการมีสุขภาพดีของนักเรียนคือ การรับประทาน
อาหาร การออกกำลังกาย และการพักผ่อนที่เพียงพอ
13.   สถานที่สอนพลศึกษาในร่มและกลางแจ้งคือ ห้องเรียนและห้อง Lab ของวิชา
พลศึกษา
14.   อุปกรณ์การสอน เช่น ลูกบอล เบาะ และอื่น  ๆ ก็คือปากกา สมุด หนังสือ
สำหรับการสอนวิชาพลศึกษามีความจำเป็นและสำคัญต่อการสอนพลศึกษา เช่นเดียวกับการสอนวิชาอื่นๆ
15.   เวลาสำหรับเตรียมการสอน ตารางสอนที่ยืดหยุ่นได้พอสมควร ชั้นที่ไม่มี
นักเรียนมากเกินไปและชั่วโมงการสอนของครูไม่มากเกินไป เป็นปัจจัยที่มีความสำคัญ และจำเป็นที่จะทำให้การเรียนได้ผลดี
16.   โปรแกรมการสอนพลศึกษาจะต้องวางตามลำดับจากง่ายไปยาก หรือสอนให้
มีความคืบหน้าไปตามลำดับ

วิธีการสอนแบบต่าง ๆ

1.การสอนแบบสั่งการ (Teaching by command)
                การสอนแบบสั่งการ เป็นแบบการสอนที่มีความสามารถที่จะให้ผู้เรียนไปถึง
จุดมุ่งหมายที่น้อยที่สุดหรือต่ำสุด เมื่อเทียบกับวิธีสอนแบบอื่น ๆ แต่ก็ยังเป็นแบบที่เราใช้มากที่สุดในการสอนวิชาพลศึกษาในปัจจุบันนี้ เนื่องจากว่าห้องเรียนหนึ่ง ๆ มีนักเรียนมากเกินไปนั่นเอง การสอนแบบสั่งการนี้ดูเหมือนว่าจะเป็นแบบวิธีสอนที่เป็นพื้นฐานและโครงสร้างของวิธีสอนแบบอื่น ๆที่ใช้กันอยู่เป็นประจำในปัจจุบันนี้ด้วย
2. การสอนแบบมอบงานให้ทำ (Teaching by Task)
                การสอบแบบมอบงานให้ทำ มีความแตกต่างกับการสอนแบบสั่งการ คือ การ
สอนแบบสั่งการนั้นทุกสิ่งอย่างจะขึ้นอยู่กับครูสอนเพียงคนเดียว เด็กไม่มีอิสระในการฝึกกิจกรรม แต่การสอนแบบมอบงานให้ทำนี้เด็กจะมีอิสระในการฝึกกิจกรรมของเขามากยิ่งขึ้น แต่ถึงอย่างไรก็ตามการสอนลักษณะนี้ก็ถือว่าเป็นการสอนที่คล้ายคลึงกับการสอนแบบสั่งการ คือสั่งให้เด็กไปทำ การทำนั้นก็คือสิ่งที่ครูมอบและกำหนดให้ ซึ่งถือว่าเป็นงานในเนื้อหาวิชาที่กำหนดโดยเด็กจะรู้ว่าเขาจะเริ่มเมื่อไร และจะหยุดเมื่อไร
                ถึงอย่างไรก็ตาม การมอบหมายงานให้เด็กไปฝึกหรือกระทำนั้น ก็คงอยู่ในความควบคุมของครูแต่ครูจะมีเวลาได้พักไม่ต้องเหนื่อยมากเหมือนการสอนแบบสั่งการซึ่งครูจะต้องอยู่หรือคอยควบคุมเด็กตลอดเวลา การสอนแบบมอบงานให้ทำจะเปิดโอกาสให้เด็กกับครูมีความสัมพันธ์กันมากยิ่งขึ้น เด็กมีโอกาสจะพัฒนาตัวของเขาอย่างอิสระมากขึ้นกว่าการสอนแบบสั่งการ

3. การสอนแบบจับคู่ (Reciprocal Teaching)
                การสอนแบบจับคู่ เป็นแบบการสอนที่เด็กจะมีอิสระและเป็นตัวของตัวเองมากกว่าการสอนแบบสั่งการ และแบบมอบงานให้ทำ การสอนแบบนี้ครูจะมีบทบาทเป็นอย่างมากเกี่ยวกับเรื่องการวัดผล และความสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียนก็มีมากขึ้นด้วย

4.  การสอนแบบแบ่งเป็นกลุ่มย่อย  (Use of Small Group)
                การสอนแบบแบ่งเป็นกลุ่มน้อย ก็คล้ายกับวิธีสอนแบบจับคู่ แต่การสอนแบบกลุ่มน้อยมีเพียงมากขึ้นมากกว่าแบบจับคู่ ก็คือ มีผู้สังเกตและผู้บันทึกการสอนแบบเป็นกลุ่มเล็ก ๆ มีประโยชน์มากในกรณีที่อุปกรณ์ และเครื่องมือ มีจำนวนจำกัด  การแบ่งกลุ่มย่อย มักจะแบ่งเป็นกลุ่มละ 3-4 คน (บางกรณีอาจจะมากกว่านี้)

5. การสอนเป็นรายบุคคล  (The Individual program)
                หัวใจสำคัญในการสอนก็คือ การเรียนเป็นรายบุคคล เพราะในการแสวงหาความรู้และการเรียนรู้เป็นหน้าที่ของแต่ละคน จะเรียนแทนกันไม่ได้ การจัดโปรแกรมในการสอนจะต้องมีเนื้อหาวิชามากพอที่จะให้ผู้เรียนได้มีโอกาส ทดลอง หรือเลือก และเร้าใจให้ผู้เรียนมีความต้องการที่จะเรียน

6. การสอนโดยวิธีแนะแนวให้ค้นคว้า(Guide Discovery)
                การสอนแบบแนะแนวให้เกิดการค้นคว้า เป็นวิธีที่จะทำให้ผู้เรียนได้ประกอบพิจารณา
อันจะก่อให้เกิดความ งอกงามทางด้านสติปัญญา เมื่อพูดถึงกิจกรรมอันจะก่อให้เกิดความงอกงามทางสติปัญญานั้นกินความหมายมาก ซึ่งต่างกับกิจกรรมอื่น ๆ นักจิตวิทยาและนักวิจัยที่มีชื่อเสียงได้เสนอข้อคิดเห็นไว้ว่ากิจกรรมี่จะก่อให้เกิดความงอกงามทางสติปัญญานั้นคือ กิจกรรม ซึ่งจะทำให้ผู้กระทำมีความสามารถในสิ่งต่อไปนี้คือ
    1. ความสามารถในการถาม
    2. ความสามารถในการเปรียบเทียบ
    3.ความสามารถในการสรุปความหรือลงความเห็นจากการเปรียบเทียบจากของสองสิ่งหรือ  หลายสิ่ง
    4. ความสามารถในการตัดสินใจ
    5. มีความสามารถในการใช้กลวิธีต่าง ๆ เข้าช่วยในการแก้ปัญหา
    6. มีความสามารถในการคิดประดิษฐ์
    7. มีความสามารถในการค้นคว้า
    8. มีความสามารถในการตอบโต้
                และนี้คือหลักการพัฒนาหลักสูตรพลศึกษา และวิธีการสอนพลศึกษา ที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาเด็กและเยาวนองชาติต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น